บทความนี้เราจะนำเสนอให้ท่านเห็นกลไกที่เป็นไปได้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเงินดิจิทัล รวมทั้งโอกาสความสำเร็จและความล้มเหลวของแนวคิดนี้
เราลำดับเรื่องราวกันตามลำดับดังนี้ครับ
- ขนาด GDP ของเศรษฐกิจของไทยและเป้าหมายการเติบโตต่อปี
- การรั่วไหลของเงินออกนอกระบบ
- มูลค่าเพิ่มของเงินดิจิทัล
- องค์ประกอบสำคัญ ๆ ในระบบเงินดิจิทัล
- บัญชีดิจิทัลบุคคล ธุรกิจ และองค์กร
- SuperApp กลไกสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล
ที่มาของเรื่องเงินดิจิทัลที่เป็นเรื่องฮอตฮิตของไทยก่อนสิ้นปี 2566 เกิดขึ้นมาจากการประกาศการดำเนินงานการเมืองตามนโยบายของพรรคเพื่อไทย ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตในระดับ 5 % โดยการกระตุ้นด้วยเงินดิจิทัลคนละ 10,000 บาท หลังจากที่ได้ดำเนินการโครงการต่างๆ ในระยะเวลาเพียง 1 เดือน เช่น การลดค่าไฟฟ้า เรื่องค่าบริการรถไฟฟ้า 20 บาท จนเป็นที่พอใจกันตามๆ กัน
ชนาด GDP ของเศรษฐกิจของไทยและเป้าหมายการเติบโตต่อปี
โครงการเงินดิจิทัล คนละ 10000 บาท รวมคน 56 ล้านคน คิดเป็นเงินงบประมาณ 5.6 แสนล้าน หรือประมาณ 4 % ของ GDP โดยการฉีดเงินเข้าไปสู่ระบบจะเกิดการหมุนของเงินและเกิดการผลิต การจ้างงานต่างๆ จนประกอบกันเป็น GDP ที่ระดับ 5 % โดย GDP ของไทยมีขนาด 17 ล้านล้านบาท (ปี 2566) แบ่งเป็น GDP จากอุตสาหกรรมดิจิทัลคิดเป็นสัดส่วน 11 – 12 % ของ GDP
ที่มา : รายงานการสำรวจฯ
การรั่วไหลของเงินออกนอกระบบ
การซื้อขายออนไลน์ การซื้อขาย การโฆษณาผ่านโซเชียล เป็นช่องทางหนึ่ง ที่ทำให้รายได้จากภาษีหายไปนอกระบบ เพราะร้านค้าออนไลน์จำนวนหนึ่งอยู่นอกระบบการจัดเก็บภาษีของไทย เพราะการไหลของเงินสดหรือเงินในระบบออนไลน์ปัจจุบันไม่สามารถติดตามที่มาที่ไปได้ รัฐบาลจึงมีหน้าที่ที่จะต้องขจัดปัญหาการรั่วไหลของเงินส่วนนี้ให้ได้และกลายเป็นเงินภาษีในการพัฒนาประเทศได้ เงินดิจิทัล ด้วยกลไก Blockchain จึงมีความสำคัญในการติดตามที่มาที่ไปได้
มูลค่าของเงินดิจิทัล
ก่อนจะมาถึงวันนี้ ทุกท่านน่าจะคุ้นเคยกับเงิน Cryptocurrency โดยเฉพาะ เหรียญ BitCoin ที่มีมูลค่าขึ้นลงและมีมูลค่าอยู่ในระบบที่สูงมาก เป็นไปตามกลไก คุณสมบัติความหายากของเงิน และมีผลให้เงิน ดิจิทัลต่างๆ ได้รับอานิสงค์ มีมูลค่าขึ้นลงไปตามกระแสได้เช่นกัน และจะมีมูลค่าเกินจริงได้ หรือมีมูลค่าสูงได้จริงตามการสร้างมูลค่าเพิ่มของระบบที่หนุนหลัง ดังนั้นหากมี 2 กลไกนี้เกิดขึ้น คือ ระบบเงินดิจิทัลที่มีความปลอดภัย และกระบวนการสร้างมูลค่าเกิดขึ้นได้ เงินดิจิทัลนั้นก็จะมีมูลค่าสูงขึ้นเหมือนอัตราการแลกเปลี่ยนเงินได้เช่นกัน
องค์ประกอบสำคัญในระบบเงินดิจิทัล
มาถึงตอนสำคัญครับ คือ กลไกการไหล การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเงินดิจิทัล ที่เงินดิจิทัลจะไม่สามารถมองเห็นจับต้องได้ แต่กลับแลกเปลี่ยนสินค้าได้จริงซึ่งได้พิสูจน์มาแล้วจากระบบ Mobile Banking ในปัจจุบัน ระบบเงินดิจิทัลจึงมีความเหมือนกับการใช้จ่ายเงินออนไลน์กันในปัจจุบัน โดยมี Gateway ของธนาคารต่างๆ เปิดออกมาให้บริการกันมากขึ้น
จะเห็นได้ว่า วัฏจักรเงินดิจิทัล จำเป็นจะต้องมี
- เงินดิจิทัล
- ความปลอดภัย
- แอพพลิเคชั่น ต่างๆ
- เจ้าของเงิน หรือผู้ซื้อ ผู้โอน
- ผู้ให้บริการ ผู้ขาย หรือผู้รับโอน
- ตัวกลางหรือกระดานซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัล
เงินดิจิทัล มีคุณสมบัติอย่างไร ?
เงินดิจิทัลจะต้องมีคุณสมบัติ
- โปรแกรมได้ Programmability คือ โปรแกรมเงื่อนไขการจ่ายได้ เช่น ในนโยบายนี้ กำหนดการใช้จ่าย ในระยะ 4 กม
- ปลอดภัย Secure ด้วยระบบ Decentralize หรือการจะตัดสินใจใช้ระบบฐานข้อมูลธรรมดา
- โปร่งใส Transpearancy
ความปลอดภัย
ในด้านความปลอดภัย มีทางเลือกคือการใช้ Blockchain ที่จะต้องแลกกับเรื่องของความเร็ว ในการตรวจสอบธุรกรรมของ Blockchain (ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทดสอบการใช้ Blockchain ในโครงการ CDBC)
ความปลอดภัย ที่มีทางเลือกคือการใช้ Blockchain แต่จะขัดแย้งกับเรื่องความโปร่งใสจากการตรวจสอบ
เจ้าของเงินดิจิทัล
ผู้ที่จะสร้าง หรือนำเงินดิจิทัลเข้าสู่ระบบได้ ก็คือ รัฐบาลกลางและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ และรวมไปถึงผู้ผลิต เหรียญตระกูลต่างๆ ที่เชื่อถือได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่กลไกหลักคือ รัฐบาลเป็นที่แน่นอน การประกาศแจกเงินดิจิทัล จึงเป็นฉันทานุมัติของประชาชนเจ้าของประเทศ ที่รัฐบาลสามารถดำเนินการได้หากเห็นว่าสมควรและพร้อมจะยอมรับผิดชอบกับผลลัพธ์ที่จะตามมา ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งทาง ลบ และ ทางบวก
แอพพลิเคชั่น ต่างๆ รวมทั้ง SuperApp คือ กลไกสำคัญที่จะเป็นช่องทาง ตัวกลางที่ทำให้เกิดการโอนย้ายเปลี่ยนมือและมีการบันทึกที่มาที่ไป การเป็นเจ้าของเงินดิจิทัล และ SuperApp กำลังจะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลใหม่นี้ จะเกิดแอพพลิเคชั่นขึ้นมาอีกนับแสนนับล้านและจะมีแอพจำนวนมากตายไปและคงเหลือ SuperApp ดีๆ เพียงไม่กี่ตัว ในขณะที่ แอพพลิเคชั่นของไทยที่ดูจะใกล้เคียงกับ SuperApp ในขณะนี้คือ เป๋าตังก์ ที่มีผู้ใช้ประมาณ 40 ล้านบัญชี
และเราจะมาลองดูแอพ เป๋าตังก์ กันครับมามีความสามารถอะไรบ้าง
นอกเหนือจาก เป๋าตังก์แล้ว เมืองไทย ยังมีการโอนจ่ายเงินด้วยวิธีการใดอื่นๆ เช่น Promptpay โดยตรง บัตรเครดิต โมบายแบงกิ้ง ต่างๆ
ดังนั้นแนวคิดเรื่อง Digital wallet ในครั้งนี้จึงอาจจะเป็นความพยายามในการสร้างระบบสถาปัตยกรรมการเงินใหม่ขึ้นมาแทน CBDC และเป๋าตังก์
เจ้าของเงินดิจิทัล
ในที่นี้ ตามโครงการของรัฐบาล ประชาชน ที่มีอายุมากกว่า 16 ปี จะได้รับการโอนเงิน ส่วนจะโอนให้ทุกคนพร้อมกันหรือแบ่งเป็นงวด ๆ ก็ต้องรอติดตามกันต่อไป และเจ้าของเงินจะใช้เงินได้ตามนโยบายหรือตามปโปรแกรมที่เขียนไว้ก่อนหน้า และเจ้าของเงินดิจิทัลตามโครงการนี่จะขึ้นเงินเป็นเงินสดไม่ได้ จะมีเฉพาะร้านค้าที่จะสามารถไปขึ้นเงินได้
ผู้ให้บริการ หรือผู้ขาย หรือผู้รับโอน
ในที่นี้ ตามโครงการของรัฐบาล ร้านค้าผู้บริการที่ขึ้นทะเบียนอยู่ในระบบภาษีจะสามารถรับเงินและขึ้นเงินเป็นเงินสดได้
จากกระบวนการซื้อขายนี้จะสามารถติดตามแหล่งที่มาที่ไปและทำให้สามารถจัดเก็บภาษีได้และคาดการณ์ว่ารัฐจะได้รับเงินกลับมาในรูปของภาษีประมาณ 20-30 %
ตัวกลางหรือกระดานซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัล
ในวันนี้แม้นว่าจะไม่เห็นชัดเจนว่า จะสามารถนำเงินดิจิทัลมาซื้อขายแลกเปลี่ยนในกระดานซื้อขายเงินดิจิทัลและเงินตระกูลต่างๆนั้น ได้หรือไม่นั้น แต่ก็คาดการณ์ว่าไม่เร็วก็ช้า ก็จะมีเงินดิจิทัลจำนวนหนึ่งไหลเข้าสู่วงการกระดานซื้อขาย
มาถึงตรงนี้ เราจะได้คำตอบหรือยังว่า เงินดิจิทัล ช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้
ความเป็นไปได้ที่เงินดิจิทัลจะช่วยในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจคือเรื่อง การจัดเก็บเงินภาษี แก้ไขปัญหาเงินรั่วไหลไปนอกระบบ และ อีกส่วนที่สำคัญคือ การเพิ่มมูลค่า อันเป็นผลมาจากการดำเนินงาน เช่น บริษัท A ที่มีเงินดิจิทัลอยู่จำนวน 1,000,000 บาทดิจิทัล และมีผลการดำเนินงานที่ดี มูลค่าเงินดิจิทัลที่มีอยู่อาจจะมีค่าเพิ่มมากขึ้นโดยกระบวนการการยอมรับอย่างใดอย่างหนึ่ง
การเพิ่มขึ้นของมูลค่าเงินดิจิทัลในระบบจึงเกิดขึ้นได้จากการเพิ่มปริมาณ โดยการแลกเปลี่ยนอัดฉีดและหนุนหลังด้วยเงินจริง และด้วยวิธีการเพิ่มมูลค่า แตกต่างกับ CBDC ของ ธปท ที่จะมีมูลค่าคงที่ บาทต่อบาท เพียงแต่ CBDC เป็นมาตรการทำให้การใช้เงินสดมีความปลอดภัยมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
บัญชีดิจิทัลระดับบุคคลและธุรกิจ
เมื่อเกิดระบบเงินดิจิทัลขึ้นมาแล้ว ก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีบัญชีดิจิทัลส่วนบุคคล ส่วนธุรกิจและ ส่วนภาครัฐต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการโอนย้ายหมุนเวียนได้ตามคสามต้องการในการซื้อขาย การชำระเงินค่าบริการและเงินธรรมเนียมภาษีต่างๆ
SuperApp กลไกสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล
และ SuperApp หรือ แอพพลิเคชั่นขนาดใหญ่ ที่มีความสามารถในการกระทำธุรกรรม การให้ การใช้บริการต่างๆ จะเป็นนวัตกรรมที่สำคัญที่สุด ความท้าทายของ SuperApp คือ ความสามารถที่หลากหลาย ความรวดเร็ว และความปลอดภัยที่พร้อมจะรองรับธุรกรรมจำนวนมากได้อย่างไร ใครๆ จึงมีสิทธิ์ประกาศความเป็น SuperApp ได้ แต่การยอมรับและการทดสอบเป็นหน้าที่ของสังคม
บทสรุป
จึงกล่าวได้ว่า การจะเกิดขึ้นของเงินดิจิทัลต่างๆ เป็นเรื่องที่จะเป็นไปได้มากที่สุดในเร็ววันนี้ และจะเกิดขึ้นได้มากกว่า 1 ระบบ แต่ความอยู่รอดต่อเนื่องของกระแสเงินนั้นขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัยและความสะดวกสบาย เงินดิจิทัลแต่ละค่ายจะมีวัตถุประสงค์และเงื่อนไขแตกต่างกัน แต่สิ่งสำคัญสำหรับทุกๆ กระแสเงินดิจิทัล คือ ความน่าเชื่อถือ ที่จะสะท้อนมูลค่า และยังคงนิยามของเงินไว้ได้เสมอ คือ หายาก มีจำนวนจำกัด ใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ หนุนหลังด้วยสิ่งที่มีค่า เช่น โลหะหายาก หรือ ในยุคหน้า มูลค่าจะกำหนดด้วยคุณความดีที่จะหายากในโลกปัจจุบันและอนาคต
Views: 94