ด้วยในอนาคตอันใกล้ ที่เราคงจะได้มีโอกาสไปนำเสนอไอเดียกับผลงานของเรา ก็จะมีข้อสงสัยว่า งานของเราเป็นงานนวัตกรรมมประเภทไหน เป็น แบบธรรมดา เป็น Low-code(LC) หรือ no-code(NC) และ iSTEE มันจะพอเทียบได้กับ LC/NC ในตลาดอย่างไรบ้าง
ผมเลยต้องขออนุญาตทำการเปรียบเทียบ iSTEE Framework (OOPs : Object Pascal) กับ OutSystems , Mendix และ Bubble ที่ผมหาเวลาไปลองอ่านและดูจาก Youtube หลายวันเหมือนกันจะได้ทำความเข้าแบบเจาะลึก ช่วยท่านผู้อ่านได้อ่านได้ลึกซึ้ง โดยจะวิเคราะห์ทางด้าน
- ด้านเทคนิคที่มาในการพัฒนา code เบื้องหลัง
- ด้านเทคนิค UX/UI
- ด้านดาต้าเบส Backend
- ด้านการ Deploy เข้าสู่ระบบ
- ด้านต้นทุน และการดูแลรักษา
- ด้านการขยายในอนาคต
- ด้านตัวอย่างผลิตภัณฑ์จาก แพลตฟอร์มนั้น ๆ
- กลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย
- ด้านการลงทุน เรียนรู้เพื่อประกอบเป็นงานอาชีพ
- ด้านการลงทุน เพื่อสร้างทีมในองค์กร
- อนาคต
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเพื่อนเราก่อนคือ OutSystems ตามลำดับ
หัวข้อการสนทนา | รายละเอียด |
---|---|
ผู้พัฒนา | Outsystems , ปี 2544 เมืองลิสลอน โปรตุเกส ขยับขึ้นมาเป็น Unicorn ในปี 2561 |
ประเทศที่มีตัวแทนขาย | อเมริกา โปรตุเกส และทุก ๆ ทวีป |
จำนวนประเทศ/ผู้ใช้ | |
จำนวนแอพที่ออกมา | > 10,000 แอพ |
ข้อดีที่สำคัญ | เหมาะสำหรับการพัฒนาแอพภายในองค์กร |
ข้อเสียที่สำคัญ | ค่าใช้จ่าย ค่า License User สูง , ไม่เหมาะกับงาน เวบแอพพลิเคชั่น (รายละเอียดเพิ่มเติมในคลิปนะครับ) |
และผมได้นำเอา Clip ของผู้เชี่ยวชาญในเมืองไทยมาวางไว้ให้ชมกันด้วยนะครับ ว่าเขามีความเห็น คำแนะนำอย่างไร
ตามด้วย Mendix
หัวข้อการสนทนา – Mendix | รายละเอียด |
---|---|
ผู้พัฒนา : เนเธอร์แลนด์ | Mendix , เนเธอร์แลนด์ |
ประเทศที่มีตัวแทนขาย | เมืองไทย TBN |
จำนวนประเทศ/ผู้ใช้ | |
จำนวนแอพที่ออกมา | |
ข้อดีที่สำคัญ | คล้ายกับ Outsystems |
ข้อเสียที่สำคัญ | คล้ายกับ Outsystems ไม่เหมาะกับงาน เวบแอพพลิเคชั่น (รายละเอียดเพิ่มเติมในคลิปนะครับ) |
และตามด้วย iSTEE Framework ของเรา
หัวข้อการสนทนา | รายละเอียด |
---|---|
ผู้พัฒนา | สมอง (ไทยแลนด์) 2560 |
ประเทศที่มีตัวแทนขาย | เมืองไทยไปก่อนนะครับ |
จำนวนประเทศ/ผู้ใช้ | |
จำนวนแอพที่ออกมา | เป้าหมาย 1000 Super App |
ข้อดีที่สำคัญ | Low code, การ reuse ได้ง่ายพัฒนาระบบที่ซับซ้อนได้ |
ข้อเสียที่สำคัญ | ไม่เหมาะสำหรับลานขนาดเล็ก ต้นทุนการซื้อเครื่องมือ เริ่มต้นสำหรับนักพัฒนา ในเกณฑ์ที่สูง |
Avalants
เราหวังว่าหากท่านได้ฟังท่าน 3 คลิปนี้แล้วจะมีความเข้าใจ Low-code no-code มากพอสมควรนะครับ
คราวนี้เราจะมาลองเปรียบเทียบกันพอสังเขปนะครับ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ตารางเรียบเทียบ (โดยสังเขป)
คุณลักษณะ | Outsystems | Mendix | Avalants | iSTEE |
---|---|---|---|---|
ด้านเทคนิคที่มาในการพัฒนา code เบื้องหลัง | C,C#,Java,SQL | Delphi Object Pascal | ||
ด้านเทคนิค UX/UI | UniGUI | |||
ด้านดาต้าเบส Backend | SQL | SQ-Lite | ||
ด้านการ Deploy เข้าสู่ระบบ | Deploy 4-5 นาที | Deploy , CI/CD | ||
ด้านต้นทุน และการดูแลรักษา | ค่า License สูง | สูง | สูง | ต่ำสุด |
ด้านการขยายในอนาคต | ไม่คล่องตัว | ง่าย | ||
ด้านตัวอย่างผลิตภัณฑ์จาก แพลตฟอร์มนั้น ๆ | ||||
กลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย | ใช้ภายในองค์กร | องค์กร โปรแกรมเมอร์ รัฐบาล | ||
ด้านการลงทุน เรียนรู้เพื่อประกอบเป็นงานอาชีพ | > 4000 USD | < 3000 USD | ||
ด้านการลงทุน เพื่อสร้างทีมในองค์กร | ||||
อนาคตหากมีการพัฒนาแอพขนาดใหญ่ | มีความยุ่งยาก | เหมาะกับงานขนาดใหญ่ |
จากตาราง จะเห็นได้ว่า Low code ได้มีการพัฒนาการมาก่อนมากว่า 20 ปี ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา pain-point 3 ประการตามที่ กล่าวถึงในคลิปของ mendix
Low code เหมาะสำหรับงานขนาดเล็กถึงกลางที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เหมาะสำหรับงานในองค์กร แต่ไม่เหมาะกับงานประเภทเวบแอพ (no code low code บางตัวก็สามารถทำเวบแอพได้)
iSTEE เป็น Low code ที่พัฒนามาแบบ High code สามารถรองรับงานที่มีความซับซ้อนขนาดใหญ่ได้ดี สามารถลดต้นทุนนักพัฒนาแก้ไขปัญหาตามที่ mendix กล่าวถึงไว้ และสามารถทดแทนนักพัฒนาจำนวนมากดังเช่น Low code คุณภาพ
Views: 21