นครพนม ซิลิคอนวัลเลย์ แหล่งสร้าง Super App จะช่วยสร้าง GDP ของนครพนม เติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 58,000 ล้าน ภายใน 3 ปี (2569) ยกระดับคุณภาพชีวิต ลดอัตราการว่างงาน

ซิลิคอนวัลเลย์ จะช่วยเสริมแกร่ง นครพนมที่มีภูมิศาสตร์ที่มีศักยภาพ เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ เป็นเมืองหน้าด่านเชื่อมต่อในภูมิภาค ให้มีความเข้มแข็งมีประสิทธิภาพด้วยการพัฒนาทางด้านดิจิทัล

ซิลิคอนวัลเลย์ เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ชาวนครพนมมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของจังหวัด

ซิลิคอนวัลเลย์ จะมีส่วนช่วย ลดหนี้ ลดเหลื่อมล้ำ ลดปัญหาสังคมสูงอายุของนครพนม

ดูแล ปกป้อง เข้าใจ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จ

สนับสนุนโครงการโดย Samong TDTI

Super App สำหรับนครพนม

  • การขนส่ง
  • การท่องเที่ยวและบริการ
  • การเกษตร
  • อุตสาหกรรม
  • การศึกษา

ผู้ได้รับประโยชน์จาก Super App

  • ผู้ประกอบการขนส่ง ไรเดอร์ รถขนส่งทุกขนาด รถไฟไทย-ลาว-จีน เครื่องบิน
  • เกษตรกร อุตสาหกรรม การศึกษา
  • ประชากรกว่า 50% (250,000 คน)

ข้อมูลประกอบ (Appendix)

โอกาสและความต้องการด้านบริการดิจิทัล และ ความพร้อมในการผลิต

หากวิเคราะห์ถึงดีมานด์ (Demand) การเติบโตของแรงงานไอทีในตลาด พบว่าในบางช่วงมีการชะลอตัวลงเช่นกัน โดยปีที่ผ่านมาในช่วงไตรมาส 2 หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดเพิ่มมากขึ้นเป็นวงกว้างในหลายประเทศทำให้เกิดการล็อคดาวน์ กลุ่มองค์กรมีการปรับแผนและชะลอการจ้างตำแหน่งงานใหม่ ซึ่งมีเหตุผลมาจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ หรือยังไม่มั่นใจในสถานการณ์เบื้องหน้า แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาส 3 และ 4เริ่มมีการกลับมาของความต้องการบุคลากรด้านไอทีที่มากขึ้นและรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์กำลังพลนักพัฒนาของประเทศไทย

ทางด้านมุมของซัพพลาย (Supply) ในประเทศไทยและทั่วโลกยังคงประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรไอที จากข้อมูลผลสำรวจการเติบโตของตลาดไอทีทั่วโลกของไอดีซีพบว่า ในระยะเวลา 5 ปีตั้งแต่ปี 2561 – 2565 ตลาดไอทีมีสัดส่วนการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 25.8% ในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย ภายในปี 2565 คาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนการเติบโตอยู่ที่ 61% ของจีดีพี ส่งผลให้อัตราการจ้างงานด้านไอทีเติบโตควบคู่ไปด้วย ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2566 ทั่วโลกจะเผชิญกับปัญหาขาดแคลนบุคลากรไอทีมากกว่า 2 ล้านตำแหน่งสำหรับประเทศไทย ปัจจัยหลักๆ ที่ ส่งผลกระทบต่อการขาดแคลน ประกอบด้วย

1. กลุ่มคนรุ่นใหม่เลือกที่จะประกอบอาชีพอิสระบางคนอาจมองข้ามหลักสูตรที่ใช้ไอที เนื่องจากพวกเขาพบว่าวิชาที่ใช้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นั้นยากและมีการแข่งขันสูง

2. มหาวิทยาลัยจำนวนมากเปิดสอนสาขาไอทีโดยเน้นที่ปริมาณมากกว่าคุณภาพ ซึ่งข้อมูลจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่า ประเทศไทยมีนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในสาขาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จำนวน 5.7 แสนคนต่อปี แต่ทำงานตรงสายงานแค่เพียง 15% เท่านั้น และในแต่ละปีประเทศไทยสามารถผลิตบัณทิตด้านไอทีที่มีคุณสมบัติเพียงพอกับความต้องการของภาคธุรกิจได้ไม่เกิน 5,000 คน และ

ดาวน์โหลดรายงาน ฉบับเต็ม ขอขอบคุณที่มา จาก ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

เข้าร่วมโครงการ Smong TDTI หรือ ร่วมสนับสนุนการพัฒนา Nakhon Phanom Silicon Valley โดยส่งข้อความถึงเรา หรือ ติดต่อทางโทรศัพท์ หมายเลข 092-8824291

    Views: 9